วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

O-NET สพม.๓๕ อันดับ ๘ ของประเทศ


 
ผลสอบ O-NET สพม.๓๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ติดอันดับ ๘ ของประเทศ

ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนในสังกัด สพม.๓๕ ทุกโรงเรียน ที่ผลการสอบ O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สพม.๓๕ ติดอันดับ ๘ ของประเทศ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ๔๒ เขตทั่วประเทศ

ในวันที่ ๑๕-๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา รองผอ.สพม.๓๕ นายวิบูลย์ ทานุชิต นางอุไรวรรณ ปัญญาอุทัย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษผู้รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และนางกัลยาณี เอี่ยมสาย ข้าราชการครู คศ.๓ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ตัวแทนโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ภาษาไทยสูงสุดในเขตพื้นที่ ได้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเขต พื้นที่การศึกษาที่มีค่าเฉลี่ย O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๔ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ณ โรงแรมเดอะพาลาซโซ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยระดับประเทศสูงสุด ๑๐ อันดับ(สพม.๑๐ เขต และสพป. ๑๐ เขต) เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงวิธีการ/กระบวนการดำเนินงานในระดับเขตพื้นที่และในระดับ โรงเรียนที่ส่งผล ให้เขตพื้นที่การศึกษามีค่าเฉลี่ย O-NET ปีการศึกษา ๒๕๕๔ สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ในการวางโครงสร้างรูปแบบการบริหาร จัดการศึกษาในอนาคตเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

จากผลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีค่าเฉลี่ย O-NET ทั่วประเทศ ๑๐ อันดับ ได้ข้อสรุปการดำเนินงานดังนี้

การดำเนินงานระดับเขตพื้นที่

๑. ด้านการบริหารจัดการ มีกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้ กำหนดกรอบนโยบาย,สร้างการทำงานเป็นทีม,เน้นคุณภาพ คุณธรรม คุณประโยชน์,สร้างความตระหนักในปัญหาและการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศสร้างเป้าหมายเดียวกันให้เพิ่มร้อยละ ๕,ให้รางวัลโรงเรียนที่มีคะแนนสูง,เปิดเรียนก่อนเพื่อให้ทันสอบ O-NET,แบ่งสหวิทยาเขต/กลุ่มโรงเรียน,จัดทำระบบสารสนเทศ(อ่าน-เขียน),พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ (Model) และการให้คุณให้โทษ – Cownt Down

๒. ด้านพัฒนาบุคลากร “ร่วมคิดร่วมสร้าง”เช่น วางแผนจัดอบรมปฏิบัติการครู วิธีการสอน,จัดทำคู่มือครู,สร้างเครือข่ายครู,พัฒนาครูต้นแบบ,ศึกษาดูงาน,ประกวด Best Prectice,สร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน,แลกเปลี่ยนครูสอนระหว่างโรงเรียน,ครูใหญ่ช่วยสอนโรงเรียนขนาดเล็ก,จัดทำ KM,สร้างการเรียนรู้จากภูมิปัญญา,รวบรวมวิธีสอนเป็นรูปธรรมเผยแพร่และนำไปใช้,จัดทำข่าวครู/ห้องเรียนตัวอย่าง,จัดกิจกรรมวันเกียรติยศ

๓. ด้านเทคนิคการนิเทศ เช่น กต.ปน.ร่วมนิเทศโรงเรียน,ออกนิเทศครอบคลุมทุกโรง ๑๐๐%, นิเทศเฉพาะกิจและนิเทศออนไลน์,นิเทศในภาวะวิกฤติ,นิเทศเป็นทีมทั้งเขตพื้นที่,นิเทศแบบ Cooching ,นิเทศตามความต้องการ,นิเทศโดยครูเก่า ในเขตพื้นที่,นิเทศผ่านศูนย์วิชาการครูนิเทศครู,นิเทศผ่าน Skyp, สร้างการนิเทศภายในที่เข้มแข็ง และนิเทศแบบกัลยาณมิตร

๔. ด้านจัดการเรียนการสอน พัฒนาสื่อ/นวัตกรรม ศึกษานิเทศก์ร่วมกับคณะครูผลิตนวัตกรรม เช่น ชุดฝึก แบบฝึก หนังสืออ่านเสริม หนังสือส่งเสริมการอ่าน และครูมือครู แนวการจัดกิจกรรมการสอนอ่าน เขียน ,สพม.ร่วมกับโรงเรียนดำเนินการวางแผนทำข้อตกลงลงนาม MOU,สังเคราะห์ผลงานวิชาการ(วิทยฐานะ) เช่น ชุดฝึก แบบฝึก หนังสือเสริม การอ่าน,นิทาน CAI, กิจกรรมการเรียนรู้,วิเคราะห์หลักสูตร,จัดทำวิจัยในชั้นเรียน,สร้างรูปแบบสอนซ่อมเสริม,จัดแข่งขันทักษะวิชาการ, ค่ายวิชาการ,สอนตามมาตรฐานตัวชี้วัด,กรณีศึกษาเด็กรายบุคคล,คลินิกหมอภาษา,ภาษาคาราโอเกะโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ , การวัดผลประเมินผล มีความหลากหลาย เช่น วิเคราะห์ผลสอบ,ข้อสอบ Pre-O-NET, ทดสอบเสมือนจริง,คลังข้อสอบ,ข้อสอบเชิงวินิจฉัย,ข้อสอบแยกมาตรฐาน,จัดอบรมสร้างข้อสอบ,ข้อสอบแยกมาตรฐาน,ข้อสอบวัดการอ่าน การเขียนเชิงวินิจฉัย,เครื่องมือคัดกรองเด็กเก่าเรียนอ่อน,สร้างศูนย์คลังความรู้, พ่อครูแม่ครู,การส่งต่อนักเรียน,ผู้ปกครองสอนที่บ้าน,ท้าพิสูจน์โรงเรียนปลอดอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้, ครูอาสาสอนนอกเวลา และกระบวนการสร้าง ขวัญกำลังใจโดยมอบทุนการศึกษาให้รางวัลเด็กที่มีพัฒนาการดีขึ้น รวมถึงติดตามพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานในระดับโรงเรียน

๑. ด้านบริหารจัดการมีกิจกรรม ให้ความสำคัญและสร้างความตระหนักในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแก่ผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง, วิเคราะห์ข้อมูล จุดเด่น จุดด้อยจากผลการทดสอบรายวิชาตามมาตรฐานและตัวชี้วัด,กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และจัดทำแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการมีส่วนร่วม,ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายการพัฒนาที่จะขับเคลื่อนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,สร้างความเข้มแข็งระบบประกันคุณภาพภายใน,พัฒนาครูด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัด,เสริมแรง สร้างขวัญกำลังใจ และแจกสัมฤทธิบัตรเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ

๒. ด้านกระบวนการเรียนการสอนมีกิจกรรม คัดกรองและวิเคราะห์ศักยภาพด้านการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล ,วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนของครู,ปรับเปลี่ยนบทบาทและวิธีการสอนของครู เน้นให้ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้ เพื่อเป็นฐานในการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เน้นการอ่านสำรวจ อ่านเก็บรายละเอียด และอ่านเพื่อตัดสินใจ กิจกรรมส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการใช้สื่อ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์,วิเคราะห์ข้อสอบ และข้อสอบรายวิชามาตรฐานตัวชี้วัดระดับชาติ และจุดเน้นเป็นฐานการพัฒนา เพื่อจัดทำแบบทดสอบเทียบเคียงแบบทดสอบระดับชาติ,จัดสอนซ่อมเสริมเด็กอ่อน, ส่งเสริมเด็กให้เก่ง โดยฝึกทำแบบฝึกและแบบทดสอบตามแนวข้อสอบ O-NET อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง,จัดเครื่องมือเสริมความรู้การวิเคราะห์ข้อสอบแนว O-NET โดยวิทยากรภายในและภายนอกสถานศึกษา,ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้,สร้างขวัญและกำลังใจ ยกย่องชมเชยให้รางวัลมอบสัมฤทธิบัตรแก่นักเรียน

๓. ด้านกระบวนการนิเทศ จัดทำข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการนิเทศให้ครอบคลุมทุกด้าน,ใช้แผนเป็นเครื่องมือการนิเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน,สร้างเครือข่ายการนิเทศ,จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลายและต่อเนื่อง,นำข้อมูลสารสนเทศ สะท้อนผลการนิเทศเชิงบวก โดยเน้นการชี้ข้อมูลเชิงพัฒนา

จากผลประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเขตพื้นที่การศึกษาครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน มีวิธีการ/กระบวนการในการดำเนินงานในภาพรวมที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในอันที่จะพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนของ ชาติให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น